จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ของ รายพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรีย

ราชวงศ์ดูลอ

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
1ข่านอัสปารุค
บัลแกเรีย: Аспарух
(Asparuh)
ป. ค.ศ. 640ค.ศ. 701
แม่น้ำนีเปอร์
ค.ศ. 681–701พระโอรสของข่านกุบรัตแห่งเกรตบัลแกเรียเก่า หลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการที่อองกัลใน ค.ศ. 680 พระองค์ทรงสถาปนาบัลแกเรียขึ้น สวรรคตใน ค.ศ. 701 จากการรบกับชาวคาซาร์[2]
2ข่านแตร์แวล
บัลแกเรีย: Тервел
(Tervel)
ค.ศ. 675
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
ค.ศ. 721
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
ค.ศ. 701–721ได้รับพระอิสริยยศซีซาร์จากการช่วยเหลือจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2ในการกู้คืนพระราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 705 [3][4] พระองค์ยังให้ความช่วยเหลือไบแซนไทน์ในสงครามการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717–718) พระองค์สวรรคต ค.ศ. 721[5]
3ข่านกอร์แมซีย์
บัลแกเรีย: Кормесий
(Kormesiy)
ไม่ทราบค.ศ. 738ค.ศ. 721–738ไม่ทราบวันสวรรคต[6]
4ข่านแซวาร์
บัลแกเรีย: Севар
(Sevar)
ไม่ทราบค.ศ. 753 (ไม่แน่นอน)ค.ศ. 738–753ข่านพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ดูลอ อาจจะสวรรคตหรือถูกถอดถอนจากบัลลังก์ใน ค.ศ. 753[7]

ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 1)

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
5ข่านกอร์มีซอช
บัลแกเรีย: Кормисош
(Kormisosh)
ไม่ทราบไม่ทราบค.ศ. 753–756เป็นยุคเริ่มต้นของปัญหาความมั่นคงภายใน ถูกถอดถอน ค.ศ. 756[8]
6ข่านวีแนค
บัลแกเรีย: Винех
(Vineh)
ไม่ทราบค.ศ. 762ค.ศ. 756–762ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 762[9]

ตระกูลอูเกน

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
7ข่านแตแลตส์
บัลแกเรีย: Телец
(Telets)
ไม่ทราบค.ศ. 765ค.ศ. 762–765ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 765[10]

ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 1)

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
8ข่านซาบิน
บัลแกเรีย: Сабин
(Sabin)
ไม่ทราบไม่ทราบค.ศ. 765–766อาจมีเชื้อสายชาวสลาฟ ถูกสภาประชาชนถอดถอนใน ค.ศ. 766 ลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[11]

ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 2)

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
9ข่านอูมอร์
บัลแกเรีย: Умор
(Umor)
ไม่ทราบไม่ทราบค.ศ. 766ครองราชย์ 40 วัน ถูกถอดถอนใน ค.ศ. 766 และลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[12]

ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 2)

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
10ข่านตอกตู
บัลแกเรีย: Токту
(Toktu)
ไม่ทราบค.ศ. 767ค.ศ. 766–767ถูกฝ่ายตรงข้ามปลงพระชนม์ในป่าแถบแม่น้ำดานูบใน ค.ศ. 767[13][14]
11ข่านปากัน
บัลแกเรีย: Паган
(Pagan)
ไม่ทราบค.ศ. 768ค.ศ. 767–768ถูกคนรับใช้ปลงพระชนม์บริเวณภูมิภาควาร์นา[15]

ราชวงศ์ดูลอ (กรุม)

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
12ข่านแตแลริก
บัลแกเรีย: Телериг
(Telerig)
ค.ศ. 706ค.ศ. 777
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์
ค.ศ. 768–777พระโอรสของข่านแตร์แวล หลบหนีไปอยู่คอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 777 และเปลี่ยนไปนับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[16]
13ข่านการ์ดัม
บัลแกเรีย: Кардам
(Kardam)
ค.ศ. 735ป. ค.ศ. 803ค.ศ. 777–803ปัญหาภายในสิ้นสุดลง มีการฟื้นฟูความมั่นคงและเสถียรภาพในประเทศ ไม่ทราบวันสวรรคตที่แน่นอน[17]
14ข่านกรุม
บัลแกเรีย: Крум
(Krum)
ไม่ทราบ13 เมษายน ค.ศ. 814ค.ศ. 803–814พระองค์เป็นที่รู้จักจากยุทธการที่ปลิสกา ซึ่งจักรพรรดินิเคฟอรอสที่ 1แห่งไบแซนไทน์สวรรคตในการรบครั้งนี้ ข่านกรุมยังเป็นผู้ริเริ่มกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในบัลแกเรีย พระองค์สวรรคตด้วยเหตุที่คาดว่ามาจากพระหทัยวายในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 814 อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีอยู่หลายทฤษฎีที่ใช้อธิบายสาเหตุการสวรรคตของพระองค์[18]
15ข่านออมูร์ตัก
บัลแกเรีย: Омуртаг
(Omurtag)
ไม่ทราบค.ศ. 831ค.ศ. 814–831เป็นที่รู้จักในฐานะข่านนักก่อสร้าง ปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินและการเบียดเบียนชาวคริสต์[19]
16ข่านมาลามีร์
บัลแกเรีย: Маламир
(Malamir)
ไม่ทราบค.ศ. 836ค.ศ. 831–836พระโอรสองค์ที่ 3 และองค์เล็กสุดของข่านออมูร์ตัก สวรรคตเมื่อพระชนมายุยังน้อย[20]
17ข่านแปรซีอันที่ 1
บัลแกเรีย: Пресиан I
(Presian I)
ไม่ทราบค.ศ. 852ค.ศ. 836–852เกือบทุกส่วนของภูมิภาคมาซิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของบัลแกเรีย[21]
18เจ้าชายบอริสที่ 1
บัลแกเรีย: Борис I
(Boris I)
ไม่ทราบ2 พฤษภาคม ค.ศ. 907
แปรสลัฟ, บัลแกเรีย
ค.ศ. 852–889เกิดกระบวนการเปลี่ยนบัลแกเรียให้เป็นคริสต์ กำหนดให้ภาษาบัลแกเรียเก่าเป็นภาษาราชการของประเทศและคริสตจักร ยอมรับคริสตจักรบัลแกเรียนออร์ทอดอกซ์[22] สละราชสมบัติ ค.ศ. 883 และสวรรคตวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 902 พระชนมายุประมาณ 80 พรรษา [23] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ
19เจ้าชายวลาดีมีร์
บัลแกเรีย: Владимир
(Vladimir)
ไม่ทราบค.ศ. 893 (ไม่แน่นอน)ค.ศ. 889–893พระโอรสองค์โตของเจ้าชายบอริสที่ 1 พยายามที่จะรื้อฟื้นศาสนาเทงกรี พระบิดาถอดถอนและทำให้พระองค์พระเนตรบอดใน ค.ศ. 893[24]
20ซาร์ซีแมออนที่ 1
บัลแกเรีย: Симеон I
(Simeon I)
ค.ศ. 864/86527 พฤษภาคม ค.ศ. 927
แปรสลัฟ, บัลแกเรีย
ค.ศ. 893–927พระโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้าชายบอริสที่ 1 ถูกเลี้ยงมาเพื่อให้เป็นนักบวช แต่ได้ราชบัลลังก์จากสภาแห่งแปรสลัฟ บัลแกเรียมีความเจริญและอาณาเขตกว้างไกลมากที่สุด และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมบัลแกเรีย สวรรคตจากพระอาการหทัยวายในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 927 พระชนมายุ 63 พรรษา[25]
21ซาร์แปเตอร์ที่ 1
บัลแกเรีย: Петър I
(Peter I)
ไม่ทราบ30 มกราคม ค.ศ. 970ค.ศ. 927–969พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์ซีแมออนที่ 1 พระองค์ครองราชย์ 42 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บัลแกเรีย พระองค์สละราชสมบัติใน ค.ศ. 969 เพื่อเป็นนักบวช สวรรคตวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 970[26] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ
22ซาร์บอริสที่ 2
บัลแกเรีย: Борис II
(Boris II)
ป. ค.ศ. 931ค.ศ. 977ค.ศ. 969–971พระโอรสองค์โตของซาร์แปเตอร์ที่ 1 ถูกไบแซนไทน์ถอดจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 971 พระองค์ถูกกองทหารชายแดนของบัลแกเรียสังหาร เมื่อพระองค์พยายามที่จะเสด็จกลับประเทศใน ค.ศ. 977[27]
คณะผู้ปกครองบัลแกเรียตะวันตกจากตระกูลกอมีตอปูลี ประกอบด้วยดาวิต, มอยแซย์, อารอน และซามูอิล ระหว่าง ค.ศ. 971–977[28]
23ซาร์รอมัน
บัลแกเรีย: Роман
(Roman)
ช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษที่ 930ค.ศ. 997
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์
ค.ศ. 977–991 (997)พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์แปเตอร์ที่ 1 พระองค์ถูกไบแซนไทน์ตอนพระอัณฑะ แต่หนีกลับมาบัลแกเรียได้ใน ค.ศ. 977 ต่อมาถูกจับในการรบกับไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 991 สวรรคตภายในคุกที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 997[29]

ราชวงศ์กอมีตอปูลี

ลำดับที่พระนามประสูติสวรรคตครองราชย์หมายเหตุ
24ซาร์ซามูอิล
บัลแกเรีย: Самуил
(Samuil)
ไม่ทราบ6 ตุลาคม ค.ศ. 1014
แปรสปา, บัลแกเรีย
ค.ศ. 997–1014ผู้ปกครองร่วมและนายพลภายใต้การปกครองของซาร์รอมันตั้งแต่ ค.ศ. 976–997 สถาปนาพระองค์เป็นซาร์แห่งบัลแกเรียใน ค.ศ. 997 สวรรคตจากพระอาการหทัยวายวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1014 พระชนมายุประมาณ 69–70 พรรษา[30]
25ซาร์กาวริล ราดอมีร์
บัลแกเรีย: Гаврил Радомир
(Gavril Radomir)
ไม่ทราบสิงหาคม ค.ศ. 1015ค.ศ. 1014–1015พระโอรสองค์โตของซาร์ซามูอิล ขึ้นครองราชย์วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1014 ถูกปลงพระชนม์โดยซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ ซึ่งเป็นพระภาดาของพระองค์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1015[31]
26ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ
บัลแกเรีย: Иван Владислав
(Ivan Vladislav)
ไม่ทราบกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1018
ดูร์เริส
ค.ศ. 1015–1018พระโอรสของอารอนและพระภาติยะของซาร์ซามูอิล สวรรคตในการล้อมดูร์เริส[32] การสวรรคตของพระองค์ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 โดยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไบแซนไทน์
27ซาร์แปรซีอันที่ 2
บัลแกเรีย: Пресиян II
(Presian II)
ค.ศ. 996/97 (ไม่แน่นอน)ค.ศ. 1060/61 (ไม่แน่นอน)ค.ศ. 1018รัชทายาทของซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าพระองค์เป็นซาร์พระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1[33]

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา